สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

Website : สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
Facebook : การจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

ประธานสาขาวิชา
อาจารย์ชุมพล อินทร์มณี
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
(การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน) (กำลังศึกษา)

Tel : 061-8214621
E-mail : [email protected]
Profile

ดร.อัจฉรา   ผ่องพิทยา
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อาชีวศึกษา)

Tel : 081-8870964
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกูล สาระวงศ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยี)

Tel : 081-9192934
E-mail : [email protected]
Profile

ดร.ณัฐชัย เปลี่ยนวิจารณ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

(การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)
(Ph.D (candidate))
Tel : 081-7674973
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ ดร.สร้อยสุดา เลาะหมุด
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)
(Ph.D (candidate))

Tel : 086-0101100
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์หทัยรัตน์ ธีระกาญจน์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)

Tel : 085-6011806
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์จาตุรงค์ สาระวงศ์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโทรคมนาคม)

Tel : 0869006825
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์อัญญา อำไพ
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมการจัดการ)

Tel : 085-6909405
E-mail : [email protected]
Profile

รหัสหลักสูตร                              25521741103331

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย                  หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ              Bachelor of Industrial Technology Program in Production and Logistics Engineering Management

ชื่อเต็มภาษาไทย                         อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (การจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์)

ชื่อย่อภาษาไทย                          อส.บ. (การจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ                    Bachelor of Industrial Technology (Production and Logistics Engineering Management)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ                      B.Ind.Tech. (Production and Logistics Engineering Management)

วิชาเอก

            1) แขนงวิชาการจัดการผลิตและคุณภาพ

            2) แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

         จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า  142  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                  ไม่น้อยกว่า         32       หน่วยกิต

     1.1)  วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ                                                       23       หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                                9       หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                              7       หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                6       หน่วยกิต

                                  (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา                                                            1       หน่วยกิต

     1.2)  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก                                ไม่น้อยกว่า          9        หน่วยกิต

                                 (1) กลุ่มวิชาภาษา                                       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์     ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                               ไม่น้อยกว่า        104      หน่วยกิต

     2.1) กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์สำหรับ                                        14      หน่วยกิต

           หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

          สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

    2.2)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                      66        หน่วยกิต

            กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มความรู้ ดังนี้        

            (1) กลุ่มความรู้ด้านพื้นฐานอุตสาหกรรมศาสตร์                     21        หน่วยกิต                       

(2) กลุ่มความรู้ด้านการจัดการผลิต                                      12   หน่วยกิต

            (3) กลุ่มความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์                               12        หน่วยกิต

            (4) กลุ่มความรู้ด้านการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม                   11        หน่วยกิต

            (5) กลุ่มความรู้ด้านบูรณาการวิธีการทางการจัดการวิศวกรรม

                การผลิตและโลจิสติกส์                                                 10        หน่วยกิต

     2.3)  กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                    ไม่น้อยกว่า         24        หน่วยกิต

            แขนงวิชาแบ่งออกเป็น 2 แขนงวิชาโดยให้นิสิตนักศึกษาเลือกเพียง 1 แขนงวิชาดังนี้

            1) แขนงวิชาการจัดการผลิตและคุณภาพ

                     กลุ่มวิชาบังคับ                                                         15        หน่วยกิต

                     กลุ่มวิชาเลือก                            ไม่น้อยกว่า            9         หน่วยกิต

            2) แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์   

                     กลุ่มวิชาบังคับ                                                         15        หน่วยกิต                                   

กลุ่มวิชาเลือก                            ไม่น้อยกว่า           9    หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                                            ไม่น้อยกว่า         6        หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1)  มีคุณธรรม จริยธรรม ทางวิชาการและวิชาชีพในการปฏิบัติงานด้านการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

2)  มีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3)  มีทักษะการเรียนรู้และทักษะทางปัญญาในการพัฒนางานและการแก้ปัญหาทางด้านการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ

4) มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบและสามารถปรับตัวในการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

5) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การรวบรวมและนำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์เชิงตัวเลขในงานด้านการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) นักวางแผนและควบคุมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม

2) นักควบคุมคุณภาพของโรงงานอุตสาหกรรม

3) นักประกันคุณภาพและพัฒนาระบบคุณภาพของโรงงานอุตสาหกรรม      

4) นักวางแผนและปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์ของโรงงานอุตสาหกรรม