ประธานสาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพงษ์ รามัญจิตต์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม)
Tel : 084-1191553
E-mail : [email protected]
Profile
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครนันท์ อัศวรัชต์โภคิน
วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต
(เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง)
Tel : 098-2599256
E-mail : [email protected]
Profile
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย พงษ์สนาม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)
Tel : 090-9606973
E-mail : [email protected]
Profile
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวินชัย ต้องตรงทรัพย์
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
(สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า)
Tel : 084-6705614
E-mail : [email protected]
Profile
อาจารย์วันวิสาข์ กาญจนาภรณ์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิศวกรรมเครื่องกล)
Tel : 094-5515863
E-mail : [email protected]
Profile
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชนันท์ อินเอี่ยม
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม)
Tel : 086-9799069
E-mail : [email protected]
Profile
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร 25521741102431
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมออโตเมชัน
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Automation Engineering Technolygy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต)
ชื่อย่อภาษาไทย วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering (Electromechanic Manufacturing Engineering)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Eng. (Electromechanic Manufacturing Engineering)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | ไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต | |
1.1) | วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ | 23 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต | |||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 7 หน่วยกิต | |||
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | |||
(4) กลุ่มวิชาพลศึกษา | 1 หน่วยกิต | |||
1.2) | วิชาศึกษาทั่วไปเลือก | ไม่น้อยกว่า. 9 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาภาษา | ไม่น้อยกว่า. 3 หน่วยกิต | |||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่น้อยกว่า. 3 หน่วยกิต | |||
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | ไม่น้อยกว่า. 3 หน่วยกิต | |||
2) | หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 106 หน่วยกิต | |
2.1) | วิชาเฉพาะพื้นฐาน | 39 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 21 หน่วยกิต | |||
(2) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม | 18 หน่วยกิต | |||
2.2) | วิชาเฉพาะด้าน | 67 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรม | 58 หน่วยกิต | |||
(2) กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรม | 9 หน่วยกิต | |||
3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | ไม่น้อยกว่า. 6 หน่วยกิต |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ และทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพ และต่อสังคมและปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
2)เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิตทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม
3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ
4) เพื่อผลิตบัณฑิตที่ คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
5)เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะสามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) วิศวกรปฏิบัติงานในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกล วิศวกรฝ่ายผลิตในหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานรัฐบาล
2) วิศวกรออกแบบ (ผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องมืออุปกรณ์ หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
3) วิศวกรปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
4) ผู้ช่วยนักวิจัยด้านงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development หรือ R & D)
5) วิศวกรออกแบบทางวิศวกรรม (CAD/CAM/CAE)
6) ประกอบอาชีพอิสระ เช่น การออกแบบและผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกและโลหะ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น