สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

Website : สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

ประธานสาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐวิทย์ แสงทิพย์
ปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)

Tel : 081-8594235
E-mail : [email protected]
Profile

รศ.ดร.สุริยา พันธ์โกศล
ปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(เทคโนโลยีพลังงาน)

Tel : 085-7777301
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพณัช พวงมาลี
ปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(เทคโนโลยีการจัดการพลังงานสิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน)

Tel : 082-4948111
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภณวิสิฏฐ์ นาถรังสรรค์
ปริญญาเอก (Dr.-Ing.)
Construction Engineering

Tel : 086-3926565
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพนันต์ เมืองเหนือ
ปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี)

Tel : 083-5358453
E-mail : [email protected]
Profile

รหัสและชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย      วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Energy Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย                         วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมพลังงาน)

ชื่อย่อภาษาไทย                          วศ.บ. (วิศวกรรมพลังงาน)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ                    Bachelor of Engineering (Energy Engineering)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ                      B.Eng. (Energy Engineering)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                        ไม่น้อยกว่า        32       หน่วยกิต

     1.1)  วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ                                                         23       หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                                9       หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                              7       หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                6       หน่วยกิต

                                  (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา                                                            1       หน่วยกิต

     1.2)  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก                                  ไม่น้อยกว่า          9        หน่วยกิต

                                 (1) กลุ่มวิชาภาษา                                       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์     ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                              ไม่น้อยกว่า         106     หน่วยกิต

     2.1)  วิชาแกนวิทยาศาสตร์สำหรับหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
                          สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน                                 ไม่น้อยกว่า           24    หน่วยกิต

(1) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์                                                         9    หน่วยกิต

(2) กลุ่มวิชาเคมี                                                                     4    หน่วยกิต

(3) กลุ่มวิชาชีววิทยา                                                              4    หน่วยกิต

(4) กลุ่มวิชาฟิสิกส์                                                                  7    หน่วยกิต

     2.2)  วิชาเฉพาะด้านบังคับ                                                            55     หน่วยกิต

     2.3)  วิชาเฉพาะด้านเลือก                                   ไม่น้อยกว่า           21     หน่วยกิต

     2.4)  วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                                    6     หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                            ไม่น้อยกว่า             6     หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพวิศวกรรมพลังงาน                     

2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะในการ ควบคุม ปรับปรุง ตรวจสอบ รายงาน ดำเนินการ ดูแลด้านวิศวกรรมพลังงาน และระบบการจัดการพลังงาน

3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และสรุปประเด็นปัญหาในการพัฒนาพลังงานเพื่อแก้ปัญหาพลังงานในอุตสาหกรรม และท้องถิ่น

4) สามารถปฏิบัติหน้าที่ มีมนุษย์สัมพันธ์สามารถทำงานเป็นหมู่คณะทำร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้

5) สามารถใช้ข้อมูลสถิติ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ สื่อสาร และนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) วิศวกรและนักวิชาการด้านพลังงานในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรม

2) ผู้ตรวจประเมินด้านพลังงานในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรม

3) บุคลากรในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพลังงาน

4) วิศวกรปฏิบัติงานในโรงงาน และอาคารควบคุมด้านพลังงาน

5) ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานขององค์กรต่าง ๆ