สาขาวิชาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประธานสาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรศักดิ์ เขียนวงศ์

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์)
Tel : 063-6654596
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)
(กำลังศึกษา)
Tel : 095-903-7711
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ราชนิรันดร์ ดวงชัย
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์)

Tel : 092-251-2192
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักฤษณ์ พนาลี
ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรม)

Tel : 091-435-5536
E-mail : [email protected]
Profile

ดร.จรรยาวรรณ จรรยาธรรม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์)

Tel : 098-514-7371
E-mail : [email protected]
Profile

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร                              25511741103047

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย)               หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ)          Bachelor of Science Program in Industrial Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย             วิทยาศาสตรบัณฑิต (ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

ชื่อย่อภาษาไทย              วท.บ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ         Bachelor of Science (Industrial Design)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ          B.Sc. (Industrial Design)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

         จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

3.1.2  โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                        ไม่น้อยกว่า         32        หน่วยกิต

     1.1)  วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ                                                         23        หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                                9       หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                              7       หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                6       หน่วยกิต

                                  (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา                                                            1       หน่วยกิต

     1.2)  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก                                  ไม่น้อยกว่า          9        หน่วยกิต

                                 (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                                3       หน่วยกิต

                                 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                               3       หน่วยกิต

                                 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                3       หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                               ไม่น้อยกว่า         99        หน่วยกิต

     2.1)  กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์                             ไม่น้อยกว่า         11        หน่วยกิต

             สำหรับออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

     2.2)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                ไม่น้อยกว่า         21        หน่วยกิต

     2.3)  กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                    ไม่น้อยกว่า         67        หน่วยกิต

             2.3.1) วิชาบังคับ                                                               49        หน่วยกิต

             2.3.2) วิชาเลือก                                                                 18        หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                            ไม่น้อยกว่า           6       หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมด้วยบุคลิกภาพที่ดี มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ มีวินัย ทั้งยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางปัญญา ทักษะทางด้านภาษาที่เหมาะสม และทักษะวิชาชีพสามารถบูรณาการองค์ความรู้กับศาสตร์ต่างๆ ให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและสังคม

3) เพื่อผลิตบัณฑิตด้านออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์งานออกแบบและค้นคว้าวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

4) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำกระบวนการทางเทคโนโลยีการออกแบบ การผลิต การจัดการ มาบูรณาการองค์ความรู้ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักออกแบบผลิตภัณฑ์ในองค์กรภาครัฐ
  2. นักวิชาการด้านออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในสถานประกอบการ
  3. นักออกแบบผลิตภัณฑ์อิสระ
  4. ผู้ประกอบการธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ