สาขาวิชาการประกอบและบริการอาหาร

Website : สาขาวิชาการประกอบและบริการอาหาร

ประธานสาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฏฐกิตติ์ เหมทานนท์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน)

E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ ดร.ธีราพร ปฏิเวธวิทูร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)

E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ณัฏฐ์ปวินท์ อติวิทยาภรณ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

(สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ขวัญฤทัย สุนทรธรรมรัต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

(สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์)
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ปรีดิอร เพ็ชรใหญ่
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์)

E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชชุมา เตชะสิริวิชัย
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาพัฒคหเศรษฐศาสตร์)

E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนัญรักฒ์ สุวรรณวัฒน์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาการตลาด)

E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์สุพัตรา ทรัพย์สินโอฬาร
คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์)

E-mail : [email protected]
Profile

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร                               25511741102913                                

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย                  หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบและบริการอาหาร 

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ             Bachelor of Business Administration Program in Food Entrepreneurs

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย             บริหารธุรกิจบัณฑิต (ผู้ประกอบการอาหาร)

ชื่อย่อภาษาไทย              บธ.บ. (ผู้ประกอบการอาหาร) 

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ         Bachelor of Business Administration (Food    Entrepreneurs)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ          B.B.A. (Food Entrepreneurs)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                        ไม่น้อยกว่า        32       หน่วยกิต

     1.1) วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ                                                          23       หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                                9       หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                              7       หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                6       หน่วยกิต

                                  (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา                                                            1       หน่วยกิต

     1.2) วิชาศึกษาทั่วไปเลือก                                   ไม่น้อยกว่า          9        หน่วยกิต

                                 (1) กลุ่มวิชาภาษา                                       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์     ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                                 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์       ไม่น้อยกว่า           3       หน่วยกิต

                2) หมวดวิชาเฉพาะ                                            ไม่น้อยกว่า        99       หน่วยกิต

       2.1)  กลุ่มวิชาแกน                                                                  33       หน่วยกิต

       2.2)  กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                                         63       หน่วยกิต

                 (1) วิชาบังคับ                                                              54       หน่วยกิต

                 (2) วิชาเลือก                                                                 9       หน่วยกิต

       2.3)  กลุ่มวิชาชีพ                                                                      3       หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                      ไม่น้อยกว่า            6      หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

บัณฑิตสาขาผู้ประกอบการอาหารมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับลักษณะของสาขาวิชาและตรงกับความต้องการของสังคม และตลาดแรงงาน ดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพของตน
  2. มีบุคลิกภาพที่ดี อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ
  3. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอันดีงามของไทย
  4. มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการอาหาร สามารถออกแบบสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต
  5. สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาในการทำงานได้อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
  6. มีความสามารถในการวางแผนและบริหารจัดการงาน และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. มีทักษะเชิงตัวเลขสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้สู่สากล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1 ผู้ประกอบอาหารไทย/อาหารนานาชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2 ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตและการบริการอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3 เจ้าของธุรกิจร้านอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4 ผู้จัดการร้านอาหาร ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5 ผู้สาธิตอาหารและผู้ดำเนินรายการด้านอาหาร                 

6 ผู้พัฒนาตำรับอาหาร