สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์

FACEBOOK : สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์

ประธานสาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุริม นิลแป้น
ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Tel : 085-134-4834
E-mail : [email protected]
Profile

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธิศ ปุณธนกรภัทร์
ปริญญาเอกวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Tel : 095-532-4598
E-mail : [email protected]
Profile

รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา สำราญหันต์
ปริญญาเอกบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต

Tel : 083-155-5626
E-mail : [email protected]
Profile

ดร.ฉมาธร กุยศรีกุล
ปริญญาเอกวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Tel : 081-770-9904
E-mail : [email protected]
Profile

อาจารย์ณภพ ซ้ายสุวรรณ
ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Tel : 089-458-4926
E-mail : [email protected]
Profile

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร                              25531741101699

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย                  วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ              Bachelor of Science Program in Logistics Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีโลจิสติกส์)

ชื่อย่อภาษาไทย                     วท.บ. (เทคโนโลยีโลจิสติกส์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ               Bachelor of Science (Logistics Technology)     

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ                B.Sc. (Logistics Technology)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                        ไม่น้อยกว่า  32   หน่วยกิต

     1.1) วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ                                                      23     หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                                           9     หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                        7     หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                          6     หน่วยกิต

                                  (4) กลุ่มวิชาพลศึกษา                                                      1     หน่วยกิต

     1.2) วิชาศึกษาทั่วไปเลือก                                   ไม่น้อยกว่า     9     หน่วยกิต

                                  (1) กลุ่มวิชาภาษา                                       ไม่น้อยกว่า     3     หน่วยกิต

                                  (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์     ไม่น้อยกว่า     3     หน่วยกิต

                                  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์       ไม่น้อยกว่า     3     หน่วยกิต

                2) หมวดวิชาเฉพาะ                                               ไม่น้อยกว่า  86   หน่วยกิต

                          2.1) วิชาเฉพาะพื้นฐาน                                                          14     หน่วยกิต

                                 (1) กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิชาพื้นฐาน           

                          2.2) วิชาเฉพาะด้าน                                           ไม่น้อยกว่า    66     หน่วยกิต

                                 (1) วิชาเฉพาะด้านบังคับ                                                  42     หน่วยกิต

                                 (2) วิชาเฉพาะด้านเลือก                               ไม่น้อยกว่า    24     หน่วยกิต

                          2.3) กลุ่มวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                  6      หน่วยกิต

                          (เลือกระหว่างวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา)

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                           ไม่น้อยกว่า  6     หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ. 2552 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มีวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้

1)  มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ และสามารถนำทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำให้เกิดผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ

2)  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่องกับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3)  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการเป็นผู้นำ และทำงานร่วมกับผู้อื่นในการแก้ปัญหาด้วยการคิดที่สร้างสรรค์และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

4)  เป็นการเตรียมการด้านบุคลากรเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) และรองรับปัญหาการขาดแคลนของภาคอุตสาหกรรมในด้านศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์สมัยใหม่

5)  เพื่อช่วยตอบสนองสภาพแวดล้อมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดจนส่งเสริมยุทธศาสตร์ต่างๆ ของภาครัฐ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักบริหารงานด้านโลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้าในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และบริการ
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายคลังสินค้า และนักวางแผนการควบคุมสินค้าคงคลัง
  3. เจ้าหน้าที่ และนักวางแผนการขนส่งสินค้า
  4. ผู้ประสานงานในการนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
  5. นักพัฒนาด้านเทคโนโลยีสำหรับงานด้านโลจิสติกส์
  6. เจ้าหน้าที่บริหารงานศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์สมัยใหม่
  7. ประกอบธุรกิจหรืออาชีพอิสระที่เกี่ยวกับงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน